พระสมเด็จนางพญาตำนานพระนางพญาวัดนางพญาบูชาพระสมเด็จนางพญาคาถาพระสมเด็จนางพญา
เด่นทางมหาอุดคงกระพันแคล้วคลาดโชคลาภเมตตามหานิยมป้องกันคุณไสยมนต์ดำได้สารพัดเหมาะสำหรับทำมีดหมอดาบไว้สำหรับล้างอาถรรพ์เป็นเสน่ห์แก่ผู้พบเห็นอีกทั้งยังเพิ่มความเป็นสง่าราศีเพิ่มความร่ำรวยเงินทองทรัพย์สินแก่ผู้คนที่เคารพและมีไว้บูชา
หนึ่งในเบญจภาคียอดนิยมศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่าค้ำจุนหนุนดวงเจริญรุ่งเรืองพระสมเด็จนางพญาพุทธคุณเป็นพระสร้างความเด่นด้านเมตตากรุณาส่งเสริมให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานดีขึ้นมีโชคมีลาภและค้าขายร่ำรวยเร็วเน้นทางอิทธิฤทธิ์แกร่งกล้าคงกระพันชาตรีมิหวั่นเกรงคมศัสตราวุธแคล้วคลาดชนะศัตรูมีบารมีผู้คนเกรงใจ
วัดนางพญาจ.พิษณุโลกตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุหรือ‘วัดใหญ่’และวัดราชบูรณะเป็นแหล่งค้นพบพระเครื่องพิมพ์สำคัญ“พระนางพญา” 1ในพระชุดเบญจภาคีที่เลิศเลอค่าถึงแม้จะเป็นวัดเก่าแก่ที่มีขนาดไม่ใหญ่นักแต่เมื่อทราบประวัติความเป็นมาแล้วก็นับเป็นหนึ่งวัดสำคัญในประวัติศาสตร์เลยทีเดียวเพราะ......
นาม“วัดนางพญา”นั้นสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของพระวิสุทธิกษัตริย์ตรีพระอัครชายาของพระมหาธรรมราชาและพระราชมารดาของพระสุพรรณกัลยา,,สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งปรากฏหลักฐานว่าทรงสถาปนาพระอารามแห่งนี้ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นแม่เมืองสองแควในคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะราวปีพ.ศ.2090 - 2100และทรงสร้าง“พระนางพญา”บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามคติความเชื่อแต่โบราณกาลต่อมาวัดนี้ถูกทิ้งร้างเป็นเวลานานเนื่องจากศึกสงครามกระทั่งเมื่อมีการขุดค้นพบ‘พระนางพญา’วัดนางพญาจึงกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหนึ่ง
มูลเหตุอีกประการหนึ่งคือถ้าพิจารณาจากพุทธลักษณะจะเห็นได้ว่าองค์พระแทบทุกพิมพ์จะมีความงดงามสง่าโดยจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ“อิสสตรี”จึงเรียกกันว่า“นางพญา”และได้รับสมญา“ราชินีแห่งพระเครื่อง”ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานแรกได้เป็นอย่างดี
พระนางพญามีการขุดพบครั้งแรกในปีพ.ศ.2444โดยทางวัดดำริสร้างศาลาเล็กๆขึ้นบริเวณด้านหน้าของวัดเพื่อเป็นปะรำพิธีในการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองครั้นพอขุดหลุมจะลงเสาก็ได้พบ‘พระนางพญา’จำนวนมหาศาลฝังจมดินอยู่กับซากปรักหักพังจึงได้เก็บรวบรวมไว้และเมื่อล้นเกล้าฯรัชกาลที่5เสด็จฯไปวัดนางพญาก็ได้นำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯถวายครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้าดังนั้นพระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร
ต่อมาในราวปีพ.ศ.2470สมัยพระอธิการถนอมเป็นเจ้าอาวาสองค์พระเจดีย์ด้านตะวันออกของวัดได้พังลงก็ปรากฏพบพระนางพญาอีกจำนวนหนึ่งดังบทความที่“ท่านตรียัมปวาย”ได้เขียนไว้ในหนังสือ“ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯเล่มที่2เรื่องนางพญาและพระเครื่องสำคัญว่า‘...มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่เลี่ยวปาลิวณิชนักพระเครื่องอาวุโสของจังหวัดพิษณุโลกท่านเล่าว่า“กรุพระนางพญา”เป็นพระเจดีย์ที่พังทลายฝังจมดินอยู่บริเวณด้านหน้าของวัดตรงหน้ากุฏิท่านสมภารถนอมมีการขุดพบพระนางพญาได้พระเป็นจำนวนมากในคราวนั้นปรากฏว่าชาวเมืองพิษณุโลกไม่ได้ให้ความสนใจดังนั้นพระนางพญาที่ถูกค้นพบจึงถูกเก็บไว้ที่วัดนางพญาและบางส่วนอาจถูกนำไปบรรจุกรุยังที่อื่นๆอีกด้วย... ’
ตามประวัติความเป็นมาต่างๆของ“พระนางพญาวัดนางพญา”เป็นมูลเหตุสำคัญในการอ้างอิงถึงการพบพระนางพญาในกรุอื่นๆที่จ.พิษณุโลกรวมทั้งกรุงเทพมหานครซึ่งมีการพบพระพิมพ์ที่มีเนื้อหาและพิมพ์ทรงแบบเดียวกันกับพระนางพญาจากกรุวัดนางพญาทุกประการในหลายๆกรุอาทิวัดอินทรวิหารและวัดเลียบเป็นต้นสันนิษฐานว่าเป็นพระได้มาในคราวปีพ.ศ.2444แล้วได้นำมาบรรจุตามกรุพระเจดีย์ต่างๆซึ่งจะมีจำนวนมากบ้างน้อยบ้างและเมื่อผ่านกาลเวลาสภาพองค์พระก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพกรุที่บรรจุ
ยังปรากฏหลักฐานจากบันทึกของ‘ท่านตรียัมปวาย’ว่ามีการพบพระพิมพ์นางพญากรุวัดนางพญาขึ้นที่กรุวัดอินทรวิหารกรุงเทพมหานครจากการสืบสาวเรื่องราวได้พบว่าเป็นนางพญาพิมพ์เดียวกับกรุวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลกพร้อมหลักฐานที่สอดคล้องกันจากคำจารึกบนแผ่นลานเงินลานทองและลานนากมีความว่า‘…พระพิมพ์ที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่เอามาจากวัดนางพญาจังหวัดพิษณุโลกในปีพ.ศ.๒๔๔๔ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์รัชกาลที่๕แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จประพาสจังหวัดพิษณุโลกเพื่อนมัสการพระพุทธชินราชและทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลองในวาระดิถีอันเป็นมหามงคลนี้ได้มีราษฎรผู้จงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนำพระพิมพ์มาถวายแด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นอันมากและเมื่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับไว้ก็ได้พระราชทานจ่ายแจกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายใหญ่น้อยตลอดจนบรรดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จในครั้งนั้นโดยทั่วถึงกันและเนื่องจากพระพิมพ์นี้มีจำนวนมากส่วนหนึ่งจึงได้มีผู้รวบรวมมาบรรจุไว้ในกรุพระเจีดย์นี้... ’
พระนางพญาวัดนางพญานับเป็นพระเครื่องที่มีความสำคัญที่ปรากฏหลักฐานการสร้างและการค้นพบมาแต่โบราณและด้วยพุทธลักษณะอันงดงามสง่ากอปรกับพุทธาคมที่ปรากฏเป็นเลิศทั้งเมตตามหานิยมอำนาจวาสนาบารมีและแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีครบครันเป็นที่กล่าวขานจึงได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งใน“พระชุดเบญจภาคี”สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยที่ณปัจจุบันเป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหาด้วยค่านิยมที่สูงเอามากๆ
คาถาบูชาพระนางพญา
(นะโม3จบ)
พุทธังอาราธนานังธัมมังอาราธนานังสังฆังอาราธนานัง
พุทธานุสติธัมมานุสติสังฆานุสติ
อานุภาเวนะมะอะอิอุจิเจรุนิมะนะพะทะนะโมพุทธายะ*